วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แมลงศัตรูพืช: โรคพืช

แมลงศัตรูพืช: โรคพืช

ข้อมูล GAP ของกรมวิชาการเกษตร


GAP ของกรมวิชาการเกษตร

ทุเรียน
ลำไย (PDF file)
กล้วยไม้ (PDF file)
สับปะรด
ส้มโอ
กาแฟโรบัสต้า
ผักกวางตุ้ง
มะเขือเทศ
หน่อไม้ฝรั่ง
ผักคะน้า
หอมหัวใหญ่
กะหล่ำปลี

พริก
ถั่วฝักยาว
ถั่วลันเตา
ผักกาดขาวปลี
ข้าวโพดฝักอ่อน
หอมหัวแบ่ง
กล้วยไม้ตัดดอก
มันสำปะหลัง
ยางพารา
มะม่วง
ส้มเขียวหวาน
ปทุมมา

ค่ามาตรฐานของ GAP ที่น่าสนใจ
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หมายถึง ระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะต่างๆ ของตัวสินค้าเกษตร วิธีและขั้นตอนการผลิต รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสุขลักษณะ ความปลอดภัย มาตรฐานจะต้องเกิดจากการร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และต้องได้รับการยอมรับจากทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้มาตรฐานถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการทางการผลิตสินค้าเกษตรนั้นๆ

เอกสาร หลักการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสม GAP
-->

การปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืชอาหาร
-->
มาตรฐานสินค้า"ลำไย"
มาตรฐานสินค้า "กล้วยไม้"
มาตรฐานสินค้า "กระเจี๊ยบเขียว"
มาตรฐานสินค้า "พืชอาหาร"
มาตรฐานสินค้า "ข้าว"

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

ความหมาย Gap


ระบบการผลิตอาหาร (Good Agricultural Practice ; GAP)
GAP ย่อมาจากคำว่า “Good Agricultural Practice” ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความหมาย ว่า “ เกษตรดีที่เหมาะสม ” เป็นระบบการจัดการกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยมีคุณภาพ ปราศจากศัตรูพืช และจุลินทรีย์ เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคในประเทศไทย การตรวจประเมิน และรับรองระบบการจัดการโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยปัจจัยที่ใช้ในการตรวจประเมินแปลงผลิตของเกษตรกรเพื่อให้ได้ตามระบบการจัดการคุณภาพพืช “ เกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) มีการตรวจสอบอย่างน้อย 8 ปัจจัย คือ
• แหล่งน้ำ
• พื้นที่ปลูก
• การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
• การเก็บรักษาและขนย้ายผลผลิตภายในแปลง
• การบันทึกข้อมูล
• การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช
• การจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ
• การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
เมื่อเกษตรกรปฏิบัติตามทั้ง 8 ปัจจัยแล้ว จะได้รับหนังสือแหล่งผลิตพืช “ เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ภายใต้สัญลักษณ์ “Q” ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังรณรงค์ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยขอรับการจดทะเบียนแปลงเกษตรกร ซึ่งสามารถส่งแบบฟอร์มพร้อมกับยื่นใบคำขอได้ ณ หน่วยงาน ส.ว.พ. ทั้ง 8 เขต เพื่อให้ผู้ตรวจสอบแปลง GAP (Inspector) ซึ่งมีอยู่ 400 รายทั่วประเทศ เข้าไปทำการตรวจสอบได้ ขณะนี้มีเกษตรกรผ่านการตรวจสอบได้การรับรองระบบการจัดการคุณภาพพืช GAP และได้รับสัญลักษณ์ “Q” จำนวน 34 , 839 ราย
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร